ปัจจัย 7 ประการที่เป็นเหตุทำให้มีปลวกในที่อยู่อาศัย
- วัสดุตกแต่งบ้านมาจากวัสดุมาตรฐานต่ำ เช่นทำจากกระดาษ ไม้อัดชานอ้อย ไม้เนื้ออ่อน เปลือกไม้
- สะสมอาหารปลวกในที่พักอาศัย เช่นหนังสือ กล่องกระดาษ ฝ้ายิบซั่ม
- บริเวณบ้านมีที่มืด ทึบ แสงสว่างเข้าไม่ถึง การระบายอากาศไม่ดี หรือมีร่องรอยรั่ว น้ำซึมของน้ำ
- บ้านปลูกติดพื้นดิน หรือส่วนขอโครงสร้างบ้านมีมุมอับ อยู่ในที่เงียบ หรือห่างไกลจากชุมชน
- มีรอยแตกของพื้นปูนรอบบ้าน และในตัวบ้าน รวมถึงมีการเชื่อมต่อระหว่างพื้นดินกับวัสดุภายในบ้าน และโครงสร้างการต่อขยายที่มีระบบฐานรากไม่สัมพันธ์กัน
- วัสดุไม้หรือกระดาษสัมผัสหรือเชื่อมต่อกับผนังและพื้น
- ไม่มีการเคลื่อนย้ายสิ่งของที่เป็นกระดาษ และหรือไม้เป็นเวลานาน
ปัจจัย 7 ประการในการควบคุมปลวกในบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ
- ปรับปรุงบ้านทุกๆ 5 ปี เปลี่ยนวัสดุไม้ที่หมดอายุ ซ่อมรอยรั่วซึมของเพดาน หลังคา ห้องน้ำ
- ปรับปรุงทางระบายอากาศ และแสงแดด ให้มีอากาศถ่ายเทในทุกพื้นที่ของบ้าน เปิด ประตู หน้าต่าง เป็นประจำ อาทิตย์ละครั้งเป็นอย่างน้อย ปรับปรุงพื้นที่ใต้หลังคาและใต้พื้นบ้านให้มีแสงส่วางเข้าถึง
- ไม่นำสิ่งของ เช่นตู้ กระดาษ กล่อง วัสดุเหลือใช้วางในพื้นที่รอบบ้าน หมั่นเช็ครอยร้าว แตกของปูนซีเมนรอบบ้าน พื้นบ้าน และในบ้าน ถ้าพบให้ซ่อมทันที
- ไม่สะสมวัสดุเหลือใช้ในรูปหนังสือ กระดาษ กล่อง วัสดุไม้เนื้ออ่อน ซึ่งรวมถึงวัสดุตกแต่งผิว ถ้ามีความจำเป็นต้องสะสม ให้ใส่กล่องพลาสติกปิดฝา หรือวางในชั้นเหล็กที่มีล้อเลื่อน ห่างจากผนังและสูงจากพื้น 10 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย
- เทพื้นซีเมนต์ ก่อนทำคานคอดิน เสาบ้านสูง 1.20 ม. อย่างน้อย พื้นดิน อัดแน่นด้วยหินสอง รอบโคนเสาทำอ่างบรรจุน้ำสูง 3-4 นิ้ว ปริมาตรน้ำ 5 ลิตร ถ่ายน้ำทุก 6 เดือน
- ตรวจสอบด้วยตนเอง เดือนละครั้ง โดยเน้นที่ใต้ตู้ต่างๆในห้องครัว ห้องน้ำ ห้องใต้บันได ห้องเก็บของ ตู้ที่วางสัมผัสพื้น ขอบบัวและวงกบรวมถึงวัสดุ Built in ต่างๆ
- ใช้วัสดุที่ทดแทนไม้ หรือ ใช้ไม้สัก แทน
อ้างอิงจาก
คณะผู้วิจัย
รศ.ดร.สุรพล วิเศษสรรค์ และคณะวิจัย
ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์